เมนู

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่แลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส
ได้แก่ ทองคำ. บาลีที่เหลือว่า วลฺยานิ เป็นคำที่นำมาเพิ่มเข้า เพราะอรรถ
ของคำที่เหลือ มีเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ปภสฺสรานิ ได้แก่
อันแพรวพราวเป็นปกติ อธิบายว่า มีแสงรุ่งเรือง. บทที่เหลือเป็นบทมีอรรถ
ตื้นทั้งนั้น.
ส่วนโยชนาดังนี้ว่า เราแลดูกำไรทองกระทบกันอยู่ในข้อมือ จึงคิดว่า
เมื่อมีการอยู่เป็นหมู่ ย่อมมีการกระทบกัน เมื่อมีการอยู่คนเดียว หากระทบ
กันไม่ จึงปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
สุวัณณนาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 15


คาถาว่า เอวํ ทุติเยน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ยังทรงพระเยาว์ มีพระประสงค์
จะทรงผนวช จึงตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงรับพระเทวีปกครอง
ราชสมบัติเถิด เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ก็
ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชา อันพวกข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะรักษาได้
พระราชาในประเทศใกล้เคียงทั้งหลายจะมาแย่งชิงราชสมบัติไป ขอพระองค์
จงทรงรอ จนกว่าพระโอรสองค์หนึ่งทรงเกิดก่อน ดังนี้แล้ว ทูลให้พระราชา
ทรงยินยอม. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อน จึงทรงรับ. ต่อมา พระเทวีทรง
พระครรภ์. พระราชาตรัสสั่งอำมาตย์เหล่านั้นแม้อีกว่า พระเทวีทรงครรภ์แล้ว

พวกท่านจงอภิเษกบุตรที่เกิดแล้วไว้ในราชสมบัติ ปกครองราชสมบัติเถิด เรา
จักบวช. พวกอำมาตย์ทูลให้พระราชทรงยินยอมแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราช ข้อ
นั่นเป็นการรู้ได้ยากว่า พระเทวีจักประสูติพระโอรส หรือพระธิดา ขอพระ-
องค์จงทรงรอประสูติกาลก่อนเถิด. ต่อมา พระนางก็ประสูติพระโอรส. แม้
ในกาลนั้น พระราชาก็ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายเหมือนอย่างนั้น. พวกอำมาตย์
ก็ทูลให้พระราชาทรงยินยอมแม้อีก ด้วยเหตุเป็นอันมากว่า ข้าแต่มหาราช
ขอพระองค์จงรอจนกว่าพระโอรสทรงมีพระกำลังแข็งแรงก่อนเถิด.
แต่นั้น เมื่อพระกุมารทรงมีพละกำลังแข็งแรงแล้ว พระราชาจึงตรัส
ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า กุมารนี้มีกำลังแข็งแรงแล้ว พวกท่าน
จงอภิเษกกุมารนั้นในราชสมบัติ ปฏิบัติเถิด ดังนี้ ไม่ทรงประทานพระวโรกาส
ให้แก่พวกอำมาตย์ ตรัสสั่งให้นำบริขารทั้งปวง มีผ้ากาสวพัสตร์เป็นต้น มา
จากภายในตลาด ทรงผนวชในภายในเมืองนั่นเองแล้วเสด็จออกไป เหมือน
พระเจ้ามหาชนก. บริชนทั้งปวง คร่ำครวญนานัปการ ติดตามพระราชา
พระราชาเสด็จไปจนถึงปลายเขตแดนของพระองค์ ทรงทำรอยขีด ด้วยไม้
ธารพระกร ตรัสว่า อย่าพึงข้ามรอยขีดนี้. มหาชนนอนบนพื้นเอาศีรษะจรด
ที่รอยขีดคร่ำครวญอยู่ ทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า บัดนี้พระราชาทรงวางอาชญา
แก่พระองค์ พระราชาจักทรงทำอย่างไร แล้วให้พระกุมารนั้นเสด็จข้ามรอยขีด
ไป. พระกุมารทรงร้องว่า เสด็จพ่อ ! เสด็จพ่อ ! แล้วทรงวิ่งไปทันพระราชา.
พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราปกครองมหาชนนั่น เสวยราชสมบัติ บัดนี้
เราไม่อาจเพื่อจะปกครองเด็กคนเดียวหรือไร ทรงพาพระกุมารเสด็จเข้าป่า ทรง

เห็นบรรณศาลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าในปางก่อนอยู่ในป่านั้น จึงประทับอยู่
พร้อมกับพระราชโอรส.
ลำดับนั้น พระกุมารทรงเคยชินแต่ในที่บรรทมอันประเสริฐเป็นต้น
แต่เมื่อบรรทมในที่ลาดด้วยหญ้า หรือ บนพระแท่นที่ถักด้วยเชือก ถูกหนาว
และลมเป็นต้นกระทบ ก็ทรงกันแสงทูลว่า หนาวเสด็จพ่อ ร้อนเสด็จพ่อ
แมลงวันตอมเสด็จพ่อ หม่อมฉันหิวเสด็จพ่อ กระหายเสด็จพ่อ ดังนี้.
พระราชาต้องทรงปลอบโยนพระกุมารนั้น ยังราตรีให้ผ่านไป แม้ในกลางวัน
ก็ต้องเสด็จเที่ยวบิณฑบาตนำภัตไปมอบให้พระกุมารนั้น ภัตนั้นเป็นภัตปนคละ
กัน มากด้วยข้าวฟ่าง ลูกเดือยและแกงถั่วเป็นต้น พระกุมารทรงหิว ก็เสวย
ภัตแม้นั้น ด้วยอำนาจความหิว ต่อกาลไม่นานนัก ก็ทรงผ่ายผอม เหมือน
ดอกประทุมที่วางไว้ในที่ร้อนฉะนั้น.
ส่วนพระปัจเจกโพธิสัตว์ ไม่ทรงแสดงอาการผิดแปลกเลย ทรงเสวย
ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา แต่นั้น พระองค์ก็ทรงให้พระกุมารยินยอมตรัสว่า
แน่ะพ่อ ! อาหารอันประณีตย่อมได้ในพระนคร พวกเราจะไปในพระนครนั้น.
พระกุมารทูลว่า ตกลง เสด็จพ่อ. แต่นั้น ก็ทรงนำพระกุมารนั้น เสด็จกลับ
ตามทางที่เสด็จกลับมานั่นเทียว.
ฝ่ายพระเทวี พระมารดาของพระกุมาร ทรงดำริว่า บัดนี้ พระราชา
ทรงพาพระกุมารไปประทับอยู่ในป่าคงไม่นานนัก คงจักเสด็จกลับโดยกาล 2 - 3
วันเท่านั้น จึงทรงให้ล้อมรั้วในสถานที่ทรงขีด ด้วยไม้ธารพระกรนั่นแล แล้ว
ประทับอยู่ ลำดับนั้น พระราชาประทับยืนในที่ไม่ไกลจากรั้วนั้น ทรงส่งไป

ว่า แน่ะพ่อ มารดาของเจ้านั่งอยู่ในที่นั่น เจ้าจงไป ดังนี้ และประทับยืน
ดูอยู่จนกว่าพระกุมารนั้นเสด็จถึงที่นั้น ด้วยพระดำริว่า ใคร ๆ ไม่พึงเบียด
เบียนกุมารนั้น พระกุมารได้เสด็จไปสู่สำนักของพระมารดา ก็บุรุษผู้อารักขา
ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้นแล้ว ทูลบอกแด่พระเทวี พระเทวีทรงมีสตรีนัก
ฟ้อนรำ 20,000 นาง แวดล้อมแล้ว เสด็จไปรับ และตรัสถามเรื่องราวของ
พระราชา ครั้นทรงสดับว่า จักเสด็จมาภายหลัง จึงทรงส่งมนุษย์ทั้งหลาย
ฝ่ายพระราชาก็เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ในทันทีทันใดนั่นเอง มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่เห็นพระราชาก็กลับมา แต่นั้น พระเทวีทรงปราศจากความหวัง ทรงพา
พระราชโอรสกลับถึงพระนคร ทรงอภิเษกพระกุมารนั้นไว้ในพระราชสมบัติ.
ฝ่ายพระราชาเสด็จถึงที่อยู่ของพระองค์แล้ว ประทับนั่งในที่อยู่นั้น
ทรงเห็นแจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งพระปัจเจกโพธิญาณ ตรัสอุทานคาถานี้ ใน
ท่ามกลางแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่โคนต้นไม้รกฟ้าว่า
เอวํ ทุติเยน สหา มมสฺส
วาจาภิลาโป อภิสชฺชน วา
เอตํ ภยํ อายตึ เปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่
สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ
เยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ใน
อนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
ฉะนั้น
ดังนี้.

คาถานั้น โดยอรรถแห่งบท ตื้นทั้งนั้น ส่วนอธิบายในคาถานั่น
ดังนี้ การพูดจาของเราให้พระกุมารนั้นยินยอมอยู่ กับพระกุมารที่สองนั่น
ผู้เสวยหนาวและร้อนเป็นต้นนี้ใด การข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย พึง
มีได้ในการพูดจานั้น ถ้าเราไม่สละการพูดจาและการข้องอยู่นี้เสีย ต่อแต่นั้น
การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือ การข้องอยู่ในอนาคตก็จะเป็น
เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเมื่อเล็งเห็นภัยในอนาคตนี้ว่า การพูดจา
และการข้องอยู่ทั้งสองนั้น เป็นเหตุทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้
จึงทิ้งกาพูดจาและการข้องอยู่นั้นเสีย ปฏิบัติโดยแยบคายแล้ว ก็ได้บรรลุ
ปัจเจกโพธิญาณ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อายติภยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 16


คาถาว่า กามาหิ จิตฺรา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี เศรษฐีบุตรยังหนุ่ม ได้ตำแหน่งเศรษฐี
เศรษฐีบุตรนั้น มีปราสาท 3 หลัง สำหรับ 3 ฤดู เศรษฐีบุตรนั้น บำรุง
บำเรอด้วยสมบัติทั้งปวง เหมือนเทพกุมารทั้งที่ยังหนุ่มอยู่ ได้ปรึกษากับมารดา
และบิดาว่า ลูกจักบวช มารดาบิดาเหล่านั้น ก็ห้ามเขา เศรษฐีบุตรนั้น ก็ยืนยัน
เหมือนเดิมนั้นแล มารดาและบิดา ก็ห้ามเขาอีกว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าเป็นผู้
ละเอียดอ่อน การบรรพชาทำได้ยาก เป็นเช่นกับเดินไปมาบนคมมีดโกน
เขาก็ยืนยันเช่นเดิมนั้นแล มารดาบิดาเหล่านั้นคิดว่า ถ้าบุตรนี้บวช พวกเรา